เช็คให้ดีก่อนสร้างที่จอดรถ

เมื่อการใช้บริการรถขนส่งสาธารณะไม่ตอบโจทย์ความต้องการเท่ากับการใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง
เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
สำหรับบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอก็ย่อมต้องการโรงรถไว้กันแดดกันฝน
ทั้งยังสามารถเป็นหน้าเป็นตาให้เจ้าของบ้านได้
ก่อนจะเริ่มต้นต่อเติมโรงรถ ลองศึกษาข้อมูลคร่าวๆ
เป็นความรู้เบื้องต้นไว้สำหรับพูดคุยกับช่าง
เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยสิ่งที่ควรศึกษามีดังนี้
เช็กกฎก่อนต่อเติม
การสร้างโรงรถเปรียบได้กับการต่อเติมที่อยู่อาศัยหรืออาคาร ซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่ต้องขออนุญาตและต้องขออนุญาต เพื่อให้โรงรถของเราถูกต้องตามกฎหมายอาคารไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง
การสร้างโรงรถเปรียบได้กับการต่อเติมที่อยู่อาศัยหรืออาคาร ซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่ต้องขออนุญาตและต้องขออนุญาต เพื่อให้โรงรถของเราถูกต้องตามกฎหมายอาคารไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง
สำหรับการต่อเติมอาคารแบบที่ไม่ต้องขออนุญาต ได้แก่
การดัดแปลงขนาดพื้นบ้าน และหลังคาบ้านเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่เกิน 5 ตารางเมตร
โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน ในทางตรงกันข้ามการต่อเติมขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5
ตารางเมตรเป็นการต่อเติมที่จำเป็นต้องขออนุญาตจากราชการ

นอกจากนั้น ทางกฎหมายยังได้กำหนดระยะห่างระหว่างอาคารหรือแนวเขตที่ดินไว้แตกต่างกันระหว่างทาวน์เฮ้าส์และอาคารพาณิชย์ โดยทาวน์เฮาส์ได้รับการกำหนดให้เว้นพื้นที่ว่างด้านหลังไว้มากกว่า
2 เมตร และด้านหน้า 3 เมตร
ส่วนอาคารพาณิขย์ให้เว้นพื้นที่ว่างด้านหลังกว้างมากกว่า 3 เมตรจากแนวเขตที่ดิน
ขณะเดียวกันยังกำหนดระยะผนัง ทั้งด้านผนังเปิดและผนังทึบ
ได้แก่ ผนังด้านที่เปิดประตู หน้างต่าง ที่สูงไม่เกิน 9 เมตร
ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินมากกว่า 2 เมตร ส่วนผนังที่สูงเกิน 9 เมตร
ให้ห่างจากเขตที่ดิน 3 เมตร และผนังที่ไม่มีช่องเปิด(ผนังทึบ) ต้องห่างจากเขตที่ดินมากกว่า 0.50
ม.
ยกเว้นได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงพื้นต้องพร้อมรับน้ำหนัก
หากต้องการให้โรงรถของเรามีความคงทนแข็งแรง
และไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างบ้านเดิมในระยะยาว เราต้องสำรวจตรวจสอบพื้นโครงสร้างว่าสามารถรองรับน้ำหนักการก่อสร้างต่อเติมและรถที่จอดในโรงรถได้หรือไม่
โดยเฉพาะการผูกเหล็กฐานราก เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาพื้นดินทรุด ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังประตูหน้าบ้านตกร่อง
หรือทำให้บ้านทรุดแตกร้าวได้
หากพื้นที่เป็นดินที่ยังไม่ได้เทคอนกรีต เราสามารถเลือกเทพื้นคอนกรีตแบบ
Slab on Ground หรือลงเสาเข็ม แบบปูพรมหรือฐานเข็มกลุ่ม เพื่อช่วยชะลอการทรุดตัวได้
หรือถ้าได้รับการเทคอนกรีตแล้ว
เราควรสอบถามทางโครงการหรือช่างที่มีความเชี่ยวชาญให้ช่วยคำนวณความสามารถในการรับน้ำหนักให้ดี
โดยสามารถตกแต่งพื้นคอนกรีตให้สวยงาม เช่น การปูกระเบื้อง การใช้พื้นกรวดล้าง
ทรายล้าง หรือคอนกรีตพิมพ์ลาย เป็นต้น
งานเสาและหลังคา
งานเสาและหลังคา
แม้การสร้างโรงรถจะมีความเสี่ยงทำให้พื้นดินทรุด
แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้การทรุดตัวส่งผลกระทบต่อตัวบ้านได้
ด้วยการต่อเติมเสาและหลังคาผ่านโครงสร้างใหม่แยกจากตัวบ้านเดิม
หรือถ้าต้องยึดโครงหลังคากับโครงสร้างเดิมให้ทำจุดเชื่อมต่อที่สามารถขยับได้
เพื่อป้องกันการดึงรั้งโครงสร้างเดิมเสียหาย
ขณะที่ในส่วนหลังคาควรเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา
ซึ่งเลือกได้ทั้งแบบทึบแสงที่ช่วยกันแดดกันฝน เช่น หลังคาไวนิล หลังคา uPVC
หรือหลังคาเหล็กรีดลอน
รวมถึงแบบโปร่งแสงที่ให้แสงธรรมชาติ เช่น ไฟเบอร์กลาส โพลีคาร์บอเนต อะคริลิก
เป็นต้น นอกจากนั้น เรายังสามารถเลือกใช้หลังคาแบบระแนงไม้
ซึ่งช่วยกรองแสงและเพิ่มมิติแสงเงา โดยสามารถใช้วัสดุใสปิดทับเพื่อป้องกันฝนได้อีกชั้นหนึ่ง
ข้อควรระวัง
– ปัญหาการเชื่อมต่อโครงสร้างเดิมและโครงสร้างใหม่ไม่แข็งแรง โดยรอยต่อระหว่างโครงสร้างเดิมไม่สามารถรองรับน้ำหนักโครงสร้างใหม่ได้ ทำให้เกิดโครงสร้างเดิมและโครงสร้างใหม่ฉีกขาดจากกัน
– ปัญหารอยต่อหลังคาเดิมและหลังคาใหม่ ซึ่งเกิดจากการมุงหลังคาไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดการรั่วซึมได้
– ปัญหาการเชื่อมต่อโครงสร้างเดิมและโครงสร้างใหม่ไม่แข็งแรง โดยรอยต่อระหว่างโครงสร้างเดิมไม่สามารถรองรับน้ำหนักโครงสร้างใหม่ได้ ทำให้เกิดโครงสร้างเดิมและโครงสร้างใหม่ฉีกขาดจากกัน
– ปัญหารอยต่อหลังคาเดิมและหลังคาใหม่ ซึ่งเกิดจากการมุงหลังคาไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดการรั่วซึมได้
เรียบเรียง : สร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้านคุณภาพ